วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎี x และทฤษฎี y โดยดักลาส แมคเกรเกอร์

ดักลาส แมคเกรเกอร์ศาสตราจารย์จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเสตส์ ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า the human side of enterprise ในทฤษฎีนี้เขาได้ตั้งสมมุติฐานว่าวิธีการจูงใจคนมี2 วิธี คือ วิธีแบบเดิมหรือเรียกว่าtheory x และวิธีแบบมนุษยสัมพันธ์หรือเรียกว่า theory Y

ในทฤษฎีx มีสระดังนี้

1.ฝ่ายจัดการมีความรับผิดชอบที่จะจัดส่วนประกอบขององค์การ

2.ฝ่ายจัดการมีหน้าที่ควบคุมวิธีการจูงใจ

3.ถ้าฝ่ายจัดการไม่ทำหน้าที่ควบคุมอย่างใกล้ชิดแล้วคนงานจะขี้เกียจ

นอกจากนี้แล้วได้เสนอต่อไปอีกเกี่ยวกับธรรมชาตฺของมนุษย์ ไว้ว่า มนุษย์มีสันดานขี้เกียจ ขาดความทะเยอทะยาน เห็นแก่ตัว ไม่ฉลาด

ส่วนในทฤษฎี y เป็นแนวคิดแบบมนุษยสัมพันธ์ยกย่องศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

1.ฝ่ายจัดการมีความรับผิดชอบที่จะจัดระบบปัจจัยการผลิตในองค์การ

2.โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ไม่เฉื่อยชา

3.มนุษย์ทุกคนมีพื้นฐานที่ดีอยู่แล้ว

4.หน้าที่สำคัญยิ่งของฝ่ายจัดการคือ จัดสภาพและวิธีการผลิตภายในองค์กร

ทฤษฎีxไม่มีความสามารถตอบสนองความต้องการที่จะมีฐานะเด่นและได้รับการยกย่องในสังคมส่วนในทฤษฎี y ยกย่องศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และเชื่อว่าสามารถจูงใจคนงานได้มากว่าทฤษฎี x

ทฤษฎี x และทฤษฎี y ต่างก็มีความสำคัญในต่างกันไป แต่ถ้าจะนำไปใช้เพื่อให้เกิดปะโยชน์ ต้องพิจรณาและใช้ให้เหมาะสม ในทฤษฎีx และ y ทฤษฎี y จะยกย่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และทฤษฎี xไม่มีการตอบสนองความต้องการที่จะมีฐานะเด่นและได้รับการยกย่องในสังคม

(นางสาวอุไรรัตน์ เชื้อลางสาด เลขที่52 รปศ 531)

ทฤษฎีพัฒนาการด้านบุคลิกภาพโดย คริส อาร์จิริส

นักวิชาการชั้นนำในกลุ่มทฤษฎีมนุษยสัมพัธ์ท่านหนึ่ง ได้แก่ คริส อาร์จิริส ศ.จากมหาวิทยาลัยเยล ได้เขียนหนังสือชื่อ Personality Development และได้นำเสนอทฤษฎี พัฒนาการด้านบุคลิกภาพ มีแนวคิดได้ดังนี้1.มนุษย์ที่มีสุขภาพจิตดี คือ บุคคลที่ผ่านกระบวนการพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งเปลี่ยนจากคนเฉื่อยชาเป็นคนที่กระตือรือร้นในการทำงาน ซึ่งถือว่าเป็นคนที่พัฒนาได้ดีอีกระดับหนึ่ง2.การจัดองค์การแบบระบบราชการ ซึ่งเป็นการจัดโครงสร้างแบบเป็นทางการในรูปพีระมิด เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ เป็นการจัดที่ไม่เปิดโอกาสให้คนใช้ความสามารถได้อย่างเต็มที่ สาเหตุท่จัดโครงสร้างนี้เนื่องจากโครงสร้างดังกล่าวกดดันให้คนงานได้พัฒนาเป็นผู้ใหญ่3.การออกแบบองค์การตามความคิดแบบระบบราชการหาใช่เป็นวิธีทางออกแบบที่ส่งผลให้องค์การเกิดประสิทธิผลไม่ เพราะคนงานงานที่พัฒนาตัวเองเป็นผู้ใหญ่แล้วจะรู้สึกกระอักกระอ่วน และไม่สบายใจที่ต้องมาทำงานในสภาพเช่นนี้ ผลคือ คนงานที่เป็นผู้ใหญ่จะวางเฉยไม่กระตือรือร้นทำงานเท่าใดนัก เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วองค์องค์การจะไม่ได้ประสิทธิผลแน่

สรุป จากความคิดของคริสอาร์จิริสได้ให้ดิฉันคิดถึงชีวิตของคนๆหนึ่งและได้ยกมาให้ผู้อ่านได้รู้เกี่ยวกับชีวิตของนิดตอนเด็กนิดเป็นคนที่มีความเฉื่อยชาไม่มีความกระตือรือร้นในหน้าที่ของตนเป็นคนที่ปล่อยประละเลยและเพื่อนๆทุกคนของเขาจะสังเกตุได้ว่าเขามีจิตใจที่ไม่ร่าเริงแจ่มใสแต่เดี๋ยวน้เมื่อเขาย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่เขาเริ่มมีความคิดชีวิตของเขาก็เปชีวิตของเขาก็เปลี่ยนจากการเป็นคนเฉื่อยชาไม่เอาไหนกลายเป็นคนมีความกระตือรือร้นรุจักรับผิดชอบหน้าที่อ่านของตนและเมื่อเขาได้ทำงานก็จะมีจิตใจที่ร่าเริงแจ่มใสไม่อยู่อย่างงมงายเป็นเพราะนิดเป็นเพราะนิดเป็นคนที่เริ่มมีชีวิตที่เป็นผู้ใหญ่ขึ้นและสามารถปรับเปลี่ยนชีวิตของตนได้โดยนำหลักของคริสอาร์จิริสมาเนแนวคิดในการพัฒนาตัวเองทำให้เขามีสุขภาพจิตที่แจ่มใสร่าเริงและขยันทำงานและสามารถเป็นผู้นำได้นี่คือการเปิดโอกาสให้คนได้พัฒนาตนเองโดยไม่ว่าเราจะเป็นใครแต่ถ้ามีสุขภาพจิตที่ดีมีคนเปิดโอกาสให้เราๆก็สามารถปรับเปลี่ยนชีวิตให้ดีกว่าเดิมได้

(โดย นางสาว กาญจนา ทองหนู เลขที่4 รปศ.531)

วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ โดย อับราฮัม มาสโลว์(ความต้องการของมนุษย์เป็นเรื่องธรรมดา)



มาสโลว์ (Maslow) แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ลำดับ ดังนี้

ขั้นที่ 1 ความต้องการทางกายภาพ(Physiological Needs)

เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ซึ่งจะขาดไม่ได้ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค

ที่อยู่อาศัย และการพักผ่อน เป็นต้น

ขั้นที่ 2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย(Safety Needs)

ความต้องการทางด้านความปลอดภัยดังกล่าวอาจแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ ความปลอดภัยทางร่างกาย

เช่น ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ โจรผู้ร้าย และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เช่น ความมั่นคงทางการงานที่ทำ

ขั้นที่ 3 ความต้องการทางสังคม (Social needs)

ความต้องการที่จะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสังคม

ขั้นที่ 4 ความต้องการยกย่องและยอมรับ(Esteem Needs)

การที่จะมีชื่อเสียงเกียรติยศ ได้รับการเคารพยกย่องในสังคม ต้องการให้ผู้อื่นยอมรับนับถือว่าเป็น

บุคคลมีค่า

ขั้นที่ 5 ความต้องการประจักษ์ในคุณค่าของตนเอง(Self-Actualization)

ความต้องการที่จะประสบความสำสร็จหรือสมหวังในชีวิต อยากจะทำ อยากเป็นในสิ่งที่ตนหวังไว้

ฝันไว้ ได้ทำอะไรตามที่ตนต้องการจะทำ


วันนี้ฝนตก 10:40 นาที และหยุดเวลา 10:48 นาที แต่ความต้องการของมนุษย์ยังไม่หยุดตามฝน
ทุกคนก็ยังทำงานตามปกติ เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ แต่กว่าจะได้มันมาเราต้องแลกกับสิ่งที่เรามี ไม่ว่า
แรงกาย ความรู้ หรือในสิ่งที่เราสามารถทำได้เพื่อแลกกับเงินที่สามารถนำไปใช้จ่ายในแต่ละวัน ตามลำดับ
ขั้น 5 ขั้น ของมาสโลว์ ดิฉัน และ มนุษย์ทุกๆๆ คน ก็ทำตามกฎ 5 ข้อนี้อยู่ ไปในแต่ละวัน เช่น ในชีวิตประจำวันของดิฉันก็ต้องการกฎข้อนี้เหมือนกัน ฉันมีเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย อาหาร ของใช้ และความปลอดภัยของชีวิตในการประกันอุบัติเหตุ ในการสวมหมวกกกันน็อกเวลาขับมอไซด์จะทำให้เรารู้สึกปลอดภัย
การไปมหาวิทยาลัยทำให้เราได้ความรู้และได้สังคมใหม่ๆๆทำให้มีคนรู้จักมากขึ้นมีเพื่อนมากขึ้น และได้เรียนรู้ในโลกมหาวิทยาลัยได้เรียนรู้ในสิ่งที่อยากรู้จากอาจารย์ผู้สอนและในตรงนี้ในการศึกษาเล่าเรียนภายในเวลา 4 ปี ที่จะทำให้ดิฉันเรียนรู้เกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์ และเรียนจบอย่างความภาคภูมิใจ แต่ในระยะเวลา 1 ปีที่กำลังศึกษาอยู่นี้ดิฉันต้องพยามยามเป็นอย่างสูงเพื่อได้ขึ้ปี 2 และ ปี 3 จนถึงปี 4ให้ได้.........

(โดย นางสาวจันทิมา สิทธิการ รปศ. 531 เลขที่ 8)





















ทฤษฎีองค์การว่าด้วยศาสตร์แห่งการบริหาร โดย เฮอร์เบิร์ต ไซมอน

เฮอร์เบิร์ต ไซมอน ได้ให้มุมมองไว้ว่า หลักการบริหารมีปัญหาอุสรรคที่ไม่อาจดำเนินการได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่อง "ค่านิยม "ความแตกต่างด้านบุคคลิกภาพของปัจเจกบุคคล โครงสร้างทางสังคมจึงผันแปรตามวัฒนธรรมเช่น หลักข่อบข่ายการควบคุมสะท้อนให้เห็นว่า ผู้บริหารสามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อเมื่อควบคุมบังคับบังคับบัญชาลูกน้องจำนวนจำกัด
ดิฉันได้มีโอกาสเข้าไปในบริษัทผลิตอาหารกระป๋องแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลาและได้เห็นการทำงานของกลุ่มคนมากมายซึ่งภายในมีความชุลมุนวุ่นวายเนื่องจากพนักงานบางกลุ่มเกิดมีปากเสียงกันมีความคิดเห็นไม่ตรงกันทำให้การทำงานมีปัญหาทำให้ความผิดพลาดและมีความล่าช้ามากในการทำงานจำเป็นต้องมีผู้จัดการลงมาคอยควบคุมและแยกพนักงานออกเป็นกลุ่ม ๆและมอบหมายงานตามความสามารถของตนนอกจากนี้ผู้จัดการสามารถเข้ามาดูแลควบคุมได้อย่างทั่วถึง
ดิฉันคิดว่าความเข้าใจกันและเปิดใจที่จะรับฟังทำให้งานทุกงานย่อมเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุดค่ะ และงานทุกงานก็จะมีประสิทธิภาพตามที่ต้องการ




กลอนวันครู

ถึงวันครูให้รำลึกอยู่ในจิต

ผู้ฝึกคิดฝึกอ่านและสั่งสอน

จริยธรรมคุณธรรมเป็นอาภร

ครูพร่ำสอนจรเด็กให้เป็นคน

ครั้งละบาทนับไม่ควรค่าเรือจ้าง

ที่ทั้งสร้างทั้งคิดคิดประสิทธิ์ผล

ครูสร้างคนสร้างชาติดังเครื่องกล

บังเกิดผลอันดีแก่ศิษย์เอย

(โดย นางสาว ทัศนีย์ จันทร์เพชรศรี เลขที่ 15 รปศ.531)





























วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เฟรดเดอริค เทย์เลอร์

หลักการจัดการแบบวิทยาศาสตร์เฟรดเดอริค เทย์เลอร์ ได้เสนอความเห็นในบทความเรื่อง"The Principle of Scientfic Management"ว่า การบริหารงานตามวิทยาศาสตร์การจัดการเป็นวิธีที่ดีกว่าการอาศัยหลักเคยชิน ซึ่งเป็นหลักการทำงานตามประสบการณ์ของแต่ละคน โดยเรื่องว่า ภายใต้การบริหารแบบเดิมนั้นผู้บริหารมีหน้าที่น้อยมาก ทั้งนี้ผู้บริหารจำเป็นต้องมีหน้าที่ ดังนี้1.สร้างหลักการทำงานที่เป็นวิทยาศาสตร์2.คิดเลือกคนงานตามหลักกฎเกณฑ์วิทยาศาสตร์เพื่อเหมาะสมกับงาน3.พัฒนาคนงานให้เรียนรู้หลักการทำงานแบบวิทยาศาสตร์4.สร้างบรรยากาศการร้ฃ่วมมือระหว่างผู้บริหารกับคนงานเป้าหมายของการจัดการทำงานในแบบของเทย์เลอร์นั้นเป็นการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ จะทำให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถทำงานไอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารสามารถบริหารหน่วยงานได้อย่างเต็มที่ และบุคลากรในหน่วยงานก็จะทำงานได้อย่างเต็มที่การทำงานจะสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีนั้นจำเป็นต้องมีหลักการบริหารอย่างมีระบบ และมีประสิทธิภาพเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ที่มั่นคง
การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับทางด้านวิทยาศาสตร์เช่น การลดน้ำหนักเริ่มจากการลดพลังในอาหารให้อยู่ประมาณ1500แคลอรี่ต่อวันเราก็สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้



กลอนวันครู

พลังแห่งแม่พิมพ์ผู้สร้างชาติ
ก่อให้เกิดนักปราชญ์ชาญศึกษา
เป็นกำลังให้ชาติพัฒนา
ซึ่งนำพาความรุ่งเรืองสู่ผองไทย
มาถึงวันสำคัญอาจารย์ศิษย์
ควรนึกคิดถึงพระคุณที่ท่านให้
ท่านอุตส่าห์เสียสละมาเท่าใด
ควรจำไว้และตอบแทนพระคุณเอย

(โดย นางสาว ฉวีวรรณ บุญศรี เลขที่ 11 รปศ.531)